หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกหาข้อมูลโภชนาการในโซเชียลมีเดีย  (อ่าน 7 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 1 มิ.ย. 20, 13:43 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

มีผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกไม่ถึง 1 ใน 4 ที่ทำแบบทดสอบความรู้เรื่องโภชนาการทั่วไปผ่านเกณฑ์ และมีเพียง 4 ใน 10 คนที่มั่นใจมากว่าตนเองมีความรู้เรื่องโภชนาการ




เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น (Herbalife Nutrition) บริษัทโภชนาการระดับโลก เผยแพร่ผลสำรวจความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโภชนาการในเอเชียแปซิฟิกประจำปี 2563 (Asia Pacific Nutrition Myths Survey 2020) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกหาข้อมูลโภชนาการในโซเชียลมีเดียบ่อยที่สุด โดยเกือบ 7 ใน 10 (68%) ใช้โซเชียลมีเดียรวบรวมข้อมูลโภชนาการทุกเดือน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลและความเชื่อผิด ๆ ที่เผยแพร่เต็มโลกออนไลน์เป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดที่ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับความรู้เรื่องโภชนาการที่ถูกต้อง

เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับระดับความรู้เรื่องโภชนาการของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก และเปิดเผยความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโภชนาการที่พบบ่อยที่สุดในปัจจุบัน เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น ได้ทำการสำรวจผู้บริโภค 5,500 คนในหลายตลาด ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม เมื่อเดือนมีนาคม 2563

ผู้ตอบแบบสำรวจต้องทำแบบทดสอบความรู้เรื่องโภชนาการทั่วไปที่แนบมาพร้อมกับแบบสำรวจ ซึ่งผลปรากฏว่ามีไม่ถึง 1 ใน 4 (23%) ที่ตอบคำถามถูกมากกว่าครึ่งหนึ่ง สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกมีความรู้เรื่องโภชนาการในระดับต่ำ นอกจากนั้นยังมีไม่ถึง 4 ใน 10 (38%) ที่มั่นใจมากว่าตนเองมีความรู้เรื่องโภชนาการ

"แหล่งข้อมูลโภชนาการมีอยู่มากมายมหาศาล แต่ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโภชนาการก็เผยแพร่เต็มไปหมด ผู้บริโภคจึงเผชิญกับความท้าทายมากกว่าที่เคยในการรับข้อมูลที่ถูกต้อง และต้องแยกความจริงออกจากความเท็จให้ได้ การที่ผู้บริโภคทำแบบทดสอบความรู้เรื่องโภชนาการทั่วไปได้คะแนนต่ำ ยิ่งตอกย้ำความสำคัญของการรับข้อมูลที่ถูกต้องจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้" สตีเฟน คอนจี รองประธานอาวุโสและกรรมการผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น กล่าว "ข้อมูลเชิงลึกที่ได้มาจากการสำรวจทำให้เราต้องการเผยช่องว่างด้านข้อมูลโภชนาการและช่วยอุดช่องว่างนี้ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความรู้เรื่องโภชนาการที่จำเป็น อันจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์สุขภาพตามที่ปรารถนา"

โซเชียลมีเดีย : แหล่งข้อมูลโภชนาการที่ใช้บ่อยที่สุด แต่มีความน่าเชื่อถือน้อยที่สุด

เมื่อถามผู้บริโภคว่าหาข้อมูลเกี่ยวกับโภชนาการจากแหล่งใด:

- 68% ใช้โซเชียลมีเดีย
- 64% ถามคนในครอบครัวและเพื่อนฝูง
- 59% ดูในสื่อสิ่งพิมพ์และเว็บไซต์อย่างน้อยเดือนละครั้ง

โซเชียลมีเดียเป็นแหล่งข้อมูลโภชนาการที่ใช้บ่อยที่สุด แต่ผู้บริโภคกลับเชื่อมั่นน้อยที่สุดในเรื่องความถูกต้องของข้อมูล

- ผู้บริโภคเพียง 3 ใน 10 (30%) มั่นใจมากในความถูกต้องของข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย
- ผู้บริโภคกว่า 7 ใน 10 (72%) มั่นใจมากในความถูกต้องของข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ
- ผู้บริโภคกว่าครึ่ง (54%) มั่นใจมากในความถูกต้องของข้อมูลจากบริษัทโภชนาการ

เมื่อถามถึงประโยชน์ของแหล่งข้อมูลโภชนาการ มีผู้บริโภคไม่ถึงครึ่ง (48%) ที่ระบุว่าข้อมูลจากโซเชียลมีเดียมีประโยชน์มากหรือมากที่สุด โดยผู้บริโภคมองว่าข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ (74%) บริษัทโภชนาการ (60%) รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์และเว็บไซต์ (53%) มีประโยชน์มากกว่า

ข้อมูลและความเชื่อผิด ๆ บนโลกออนไลน์ : ขัดขวางการเข้าถึงความรู้เรื่องโภชนาการที่ถูกต้อง

ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกกว่า 7 ใน 10 (72%) กล่าวว่า การได้รับความรู้เรื่องโภชนาการที่ถูกต้องเหมาะสมมีความสำคัญมากหรือมากที่สุด แต่มีผู้บริโภคไม่ถึง 3 ใน 10 (27%) ที่ได้รับข้อมูลโภชนาการอย่างเหมาะสม โดยอุปสรรคสำคัญประกอบด้วย

- ข้อมูลและความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโภชนาการที่เผยแพร่เต็มโลกออนไลน์ (40%)
- การขาดแคลนข้อมูลโภชนาการจากเว็บไซต์ของภาครัฐและหน่วยงานสุขภาพ (16%)
- การขาดแคลนข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ (16%)

อุดช่องว่างด้านความรู้เรื่องโภชนาการในเอเชียแปซิฟิก

เมื่อผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพและบริษัทโภชนาการถูกมองว่าเป็นแหล่งข้อมูลโภชนาการที่น่าเชื่อถือมากที่สุด ทั้งสองฝ่ายจึงต้องมีบทบาทมากขึ้นในการมอบข้อมูลและเครื่องมือที่จำเป็นให้แก่ผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์มากที่สุดจากโภชนาการที่ดี

ผลสำรวจเผยให้เห็นว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในเอเชียแปซิฟิก (65%) สนใจรับคำแนะนำด้านโภชนาการจากผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น และกว่า 4 ใน 5 (83%) ต้องการรับคำแนะนำด้านโภชนาการเชิงรุกมากขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ ด้วยเหตุนี้ ความพยายามร่วมกันของภาครัฐ สถาบันสุขภาพ และแวดวงโภชนาการ จะช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโภชนาการและประโยชน์ของโภชนาการที่ดี อันจะนำไปสู่การมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม