หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: "ฐากร" แจงหมดเปลือก ม.44 อุ้มทีวีดิจิทัล-มือถือ  (อ่าน 39 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 26 มี.ค. 18, 10:31 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 
ทันทีที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้ บริษัทไทยทีวี จำกัด ของ นางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย หรือ เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล ไม่ต้องชำระเงินค่าประมูลช่องทีวีดิจิทัลหลังยุติการออกอากาศ โดยให้ กสทช.คืนหนังสือค้ำประกันกว่า 1,500 ล้านบาท

เนื่องจาก คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการเปลี่ยนผ่านทีวีระบบอนาล็อกไปสู่ทีวีดิจิทัลได้ตามแผนงานก่อให้เกิดความเคลื่อนไหว ปัดฝุ่น มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ที่ กสทช.ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่งกันมาก่อนหน้าอีกระลอก โดย ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เตรียมชงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออก ม.44 ช่วยเหลือทีวีดิจิทัล โดยจะพักชำระหนี้ให้ผู้ประกอบการ 3 ปี ในช่วงปี 2561-2563 พร้อมกับมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการมือถือที่ชนะการประมูลใบอนุญาต 4 จี บนคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ด้วยการยืดเวลาชำระค่าธรรมเนียมประมูลใบอนุญาตในงวดสุดท้ายให้ 5 ปี

กลายเป็นประเด็นถกเถียงในสังคมที่ทำเอารัฐบาล คสช.จ่อจะเรียกแขกให้งานเข้ากับกระแสวิพากษ์ทั้งจาก ขุ่นแม่เอ็นจีโอ และนักวิชาการทีดีอาร์ไอ (TDRI) ที่ออกโรงสัพยอกมาตรการช่วยเหลือข้างต้นว่า เป็นมาตรการอุ้มสมผู้ประกอบการภาคเอกชนที่เหมาะสมหรือไม่!

สำหรับผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล เป็นที่รับรู้กันอยู่แล้วว่าต่างอยู่ในสภาพ หืดจับ-หายใจไม่ทั่วท้อง จากจำนวนช่องที่มากเกินไป และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปชมผ่านจอมือถือหรือแพลตฟอร์มอื่น ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจทำให้ผู้ประกอบการหลายราย ประสบความยากลำบากในการดำเนินธุรกิจ!

ส่วนผู้ประกอบการมือถืออย่าง เอไอเอส และ ทรู นั้น เป็นผู้ประสบเคราะห์กรรมหลังจากที่ผู้เข้าประมูลคลื่น 900 อย่างบริษัทแจสโมบาย เข้ามาป่วนการประมูลดันราคาใบอนุญาตให้ขยับขึ้นไปสูงถึงกว่า 75,000 ล้านบาท แต่กลับทิ้งใบอนุญาต เพราะไม่สามารถหาเงินมาชำระได้ จนเกือบทำอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยเผชิญทางตัน กสทช.ต้องขอให้นายกฯใช้ ม.44 เปิดประมูลวิธีพิเศษให้ เอไอเอส เข้ามารับช่วงใบอนุญาตไปแทน

ก่อนมาตรการช่วยเหลือเหล่านี้จะเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในวันที่ 27 มีนาคมศกนี้ ทีมเศรษฐกิจ เปิดใจ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ถึงเหตุผลและความจำเป็นในการชงมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการในครั้งนี้ ดังนี้ :

จุดเริ่มต้นของมาตรการช่วยเหลือ

เลขาธิการ กสทช.เริ่มบทสนทนากับ ทีมเศรษฐกิจ โดยระบุว่า จุดเริ่มต้นของการผลักดันมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลและมือถือในครั้งนี้ มาจากเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตได้ยื่นหนังสือถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาลตั้งแต่ปีที่แล้วเพื่อขอความช่วยเหลือ เนื่องจากประสบปัญหาขาดทุนจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

เมื่อเอกชนร้องไปยังรัฐบาล รัฐบาลได้ทำหนังสือมายัง กสทช.ในฐานะกำกับดูแล และเป็นผู้ออกใบอนุญาตให้เสนอความเห็นมายังรัฐบาลเพื่อนำไปวิเคราะห์ หามาตรการช่วยเหลือ ซึ่งการช่วยเหลือภาคเอกชนนั้น ไม่ได้เฉพาะเจาะจงเฉพาะผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลหรือโทรคมนาคมเท่านั้น อุตสาหกรรมใดที่ได้รับผลกระทบและเดือดร้อน เมื่อยื่นเรื่องร้องเรียนต่อภาครัฐ ภาครัฐก็ต้องยื่นมือเข้าช่วยเหลือ โดยต้องยึดหลักว่ารัฐไม่เสียหาย ประชาชนได้ประโยชน์

การช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลและโทรคมนาคมในครั้งนี้ เชื่อว่ารัฐได้พิจารณาด้วยความรอบคอบถ้วนถี่แล้วว่า ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน รวมถึงช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ไปต่อไป เพราะหากปล่อยให้เกิดปรากฏการณ์ จอดำ หรือปิดกิจการเช่นเดียวกับไทยทีวีของ เจ๊ติ๋ม ทีวีพลู ที่มีคนตกงาน 300 ชีวิต กระทบต่อครอบครัวของคนเหล่านั้น กลายเป็นลูกโซ่ ซึ่งจะมีผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ

ภาครัฐจึงจำเป็นต้องยื่นมือเข้ามาช่วยภายใต้ ldquo;มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านการสื่อสาร ซึ่งก็ได้ข้อยุติสำหรับแนวทางความช่วยเหลือไปแล้ว เหลือเพียงการประชุมของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในวันที่ 27 มีนาคมนี้ เพื่อออกเป็นประกาศคำสั่ง คสช.หรือมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญปี 2560 เท่านั้น

พักชำระค่าประมูล 3 ปี

ทั้งนี้ แนวทางการช่วยเหลือที่ได้ข้อยุติเป็นที่เรียบร้อยสำหรับทีวีดิจิทัลนั้น คือ 1.พักชำระค่าประมูลทีวีดิจิทัลเป็นเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่งวดที่ 5 ที่จะครบชำระในวันที่ 25 พ.ค.2561 ไปจนถึง 25 พ.ค.2563 โดยผู้ประกอบการจะไปชำระค่าประมูลงวดที่ 5 ในวันที่ 25 พ.ค.2564 และ 2.กสทช.จะชำระค่าเช่าโครงข่ายทีวีดิจิทัลในอัตรา 50% ของค่าเช่า เป็นเวลา 24 เดือน ภายใต้วงเงิน 2,100 ล้านบาท หากมีการเจรจาต่อรองลดราคาค่าเช่าโครงข่ายลงได้ กสทช.ก็สามารถขยายเวลาช่วยเหลือออกไปได้อีก 1-3 เดือน เพื่อแบ่งเบาภาระค่าเช่าโครงข่ายทีวีดิจิทัล

ขณะเดียวกัน ในกลางปี 2561 สถานีโทรทัศน์ช่องเดิม อาทิ 7, 9, 11, ไทยพีบีเอส จะยุติการออกอากาศทีวีระบบอนาล็อก ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิทัลเกือบสมบูรณ์ เหลือสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ซึ่งอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานกับบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ที่ยังคงออกอากาศด้วยระบบอนาล็อกจนกว่าสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดในปี 2564

ในช่วง 3 ปีจากนี้ไปเชื่อว่าสถานการณ์ทีวีดิจิทัลจะฟื้นตัวอย่างแน่นอน ขณะเดียวกันผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลก็ต้องพัฒนาเนื้อหารายการที่มีคุณภาพ โดนใจผู้ชม สร้างความนิยม (เรตติ้ง) ให้รายการของตัวเองเพื่อดึงดูดเม็ดเงินโฆษณาสร้างรายได้ให้ช่อง ผมขอย้ำว่าการช่วยเหลือทีวีดิจิทัล เป็นสิ่งที่ต้องทำ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหม่ ที่ไม่มีต้นทุนมาจากสัญญาสัมปทาน

อ่านเพิ่มเติม : https://www.thairath.co.th/content/1238157
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม