หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารสกัดพืชกับใช้พืชแห้งบดผสม  (อ่าน 52 ครั้ง)
Guest
ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์
เรทกระทู้
« เมื่อ: 16 ก.พ. 16, 11:14 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 
ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารสกัดพืชกับใช้พืชแห้งบดผสม
คำถามนี้ดูเหมือนจะเข้าใจยาก แต่มาลองคิดดูง่ายๆนะคะ ถ้าเราเอาใบมะกรูดสัก 1 กิโลกรัมมาต้มน้ำร้อนจนเดือดสักสามชั่วโมงแล้วตักใบมะกรูดออก ระเหยต่อจนแห้ง แล้วขูดผงๆที่ติดอยู่ก้นหม้อมา อันนั้นเค้าเรียกว่าสารสกัดค่ะ แต่กรรมวิธีการสกัดอาจไม่ได้ใช้น้ำร้อน อาจใช้ตัวทำละลายอื่นๆ เพื่อให้สาระสำคัญที่เราต้องการละลายออกมาให้ได้มากที่สุด แต่สุดท้ายก็เอาส่วนของเหลวนั้นไปทำการระเหยจนแห้งด้วยเทคนิคต่างๆกัน ปริมาณสารสกัดพืชที่ได้ก็ออกมาน้อยมากๆเช่นเดียวกัน กรณีใบมะกรูดนี้ หากเราใช้ ใบมะกรูด 1 กิโลกรัม อาจได้สารสกัดเพียง 1 กรัม
เมื่อเปรียบเทียบกับการนำใบมะกรูด 1 กิโลกรัมไปอบจนแห้ง แล้วเอามาบดเป็นผง ปริมาณที่ได้ต่างกันมากเชียวค่ะ อย่างกรณีนี้ใช้ใบมะกรูด 1 กิโลกรัมไปอบแห้ง จะได้ใบมะกรูดประมาณ 200 กรัม (หากเราคิดว่าใบมะกรูดมีความชื้นประมาณ 80%) จะเห็นได้เลยว่าผงสารสกัด 1 กรัมมีสารสำคัญใกล้เคียงกับใบมะกรูดผง 200 กรัม ก็เห็นได้ชัดเลยว่าผลิตภัณฑ์ที่มีการเติมสารสกัด 1 กรัมลงในผลิตภัณฑ์ เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่เติมผงพืช 1 กรัม จะออกฤทธิ์แตกต่างกันเพียงใด
ความเข้มข้นของสาระสำคัญเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการที่เราใช้ผลิตภัณฑ์ที่เคลมว่าช่วยต้านการอักเสบ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ หรือฤทธิ์อื่นๆทั้งหมด ล้วนแต่ขึ้นกับความเข้มข้นของสาระสำคัญในผลิตภัณฑ์ หากมีสารสำคัญมาก ก็จะออกฤทธิ์ได้มากกว่า จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้สารสกัดในปริมาณเดียวกันจะมีฤทธิ์ที่ดีกว่าใช้ผงพืชแห้งผสมลงไป และนั่นคือสาเหตุที่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารสกัดมีราคาแพงกว่า เพราะมีขั้นตอนซับซ้อนกว่า ต้นทุนสูงกว่า แต่ออกฤทธิ์ได้ดีกว่ามาก
หากมาลองพิจารณาข้อมูลสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จากเอกสารงานวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ Shigella shinga, Pseudomonas aeruginosa, Shigella sonnei and Bacillus cereus, Bacillus subtilis, Sarcina lutea and Bacillus megaterium ของตัวอย่างด้วยวิธี zones of inhibition ของ ใบ Moringa oleifera Lam. สด มีค่า 15.23 to 25.2 mm ส่วนค่า zones of inhibition ของผงแห้งของสารสกัดของพืชชนิดเดียวกันด้วยน้ำมีค่า 29.25 to 42.3 mm ค่า zones of inhibition ของสารสะลายสารสกัดของพืชชนิดเดียวกันด้วยเอทธานอลมีค่า 16.25 to 21.5 mm ค่า zones of inhibition ของสารละลายสารสกัดของพืชชนิดเดียวกันด้วยน้ำมีค่า 7.75 to 27.5 mm (Rahman et al., 2009) ซึ่งค่าที่มาก แสดงว่ามีความสามารถในการยับยั้งเชื้อได้มากกว่า จึงสามารถอธิบายได้ว่า การสกัดพืชแล้วทำแห้งส่งผลให้ฤทธิ์การฆ่าเชื้อที่ศึกษาสูงขึ้นเกือบสองเท่า การใช้ตัวทำละลายในการากัดที่ต่างกัน ส่งผลให้ฤทธิ์การฆ่าเชื้อต่างกัน ดังนั้นการศึกษาวิธีการสกัดสารสำคัญจากพืชสมุนไพรก่อนนำมาใช้ผสมลงในผลิตภัณฑ์ถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อทำให้ได้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรที่คุ้มค่าที่สุด และกการใช้สารสกัดในผลิตภัณฑ์ออกฤทธิ์ได้ดีกว่าการใช้พืชแห้งหรือสดผสมลงในผลิตภัณฑ์
Reference Rahman, M. M., Sheikh, M. M. I., Sharmin, S. A., Islam, M. S., Rahman, M. A., Rahman, M. M. and Alam, M. F. 2009. Antibacterial Activity of Leaf Juice and Extracts of Moringa oleifera Lam. against Some Human Pathogenic Bacteria. CMU. J. Nat. Sci. 8(2): 219-227.
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม