และเหตุฉุกเฉินทั่วโลก
- โครงการที่ก่อตั้งขึ้นโดยคำนึงถึงวิธีการแก้ปัญหาร่วมกันในวงกว้างที่สามารถดัดแปลงได้
บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ จำกัด (Deloitte Touche Tohmatsu Limited หรือ DTTL) และเครือข่ายบริษัทสมาชิกของ DTTL มุ่งมั่นที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยงานด้านมนุษยธรรม ด้วยการประกาศเปิดตัวโครงการพัฒนาด้านมนุษยธรรม ( Humanitarian Innovation Program ) ซึ่งแบ่งเป็นโครงการสาธารณะประโยชน์ระดับโลกสำหรับองค์กรด้านมนุษยธรรม 2 โครงการ โครงการดังกล่าวเน้นย้ำความเชื่อของดีลอยท์ที่ว่า ความสำเร็จของธุรกิจและสังคมนั้นเชื่อมโยงกัน การดำเนินการดังกล่าวถือเป็นแนวทางใหม่ในการคลี่คลายวิกฤตด้านมนุษยธรรมโดยที่องค์กรด้านมนุษยธรรมต่างร่วมมือกัน เพื่อสร้างสรรค์วิธีการใหม่ๆที่จะช่วยพัฒนาการเตรียมความพร้อม และรับมือกับวิกฤตการณ์ต่างๆ เครือข่ายบริษัทสมาชิกจากทั่วโลกของ DTTL จะมีส่วนร่วมในโครงการดังกล่าว โดยจะประสานงานกับเครือข่ายดีลอยท์ทั่วโลกเพื่อช่วยบรรเทาวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก
โครงการพัฒนาด้านมนุษยธรรมจัดตั้งขึ้นในช่วงเวลาที่องค์กรด้านมนุษยธรรมต้องรับมือกับภัยพิบัติหลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินโดยมีทรัพยากรที่จำกัด สำนักงานเพื่อความร่วมมือด้านกิจการมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ (UN OCHA) ระบุว่า การส่งเสริมด้านการพัฒนาของสำนักงานทั้งหมดทั่วโลกเพื่อการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัตินั้น คิดเป็นสัดส่วนเพียง 3% เท่านั้น [1] อย่างไรก็ตาม ทุกๆ 1 ดอลลาร์ที่ถูกนำไปลงทุนเพื่อการเตรียมความพร้อม จะสามารถประหยัดเงินในการฟื้นฟูเยียวยาไปได้ถึง 7 ดอลลาร์ โครงการของดีลอยท์มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการรับมือกับปัญหาเพื่อช่วยเหลือหน่วยงานด้านมนุษยธรรมในระหว่างช่วงการเตรียมการ และการเตรียมความพร้อมรับมือ ซึ่งจะช่วยให้สังคมระดับโลก และระดับประเทศมีความพร้อมรับมืออย่างเข้มแข็ง รวมถึงมีความเป็นอยู่ที่ดี และช่วยชีวิตประชาชนได้มากยิ่งขึ้น
แบร์รี่ ซาลซ์เบิร์ก (Barry Salzberg) ซีอีโอระดับโลก DTTL กล่าวว่า "ที่ดีลอยท์ เราเชื่อมั่นว่าธุรกิจมิได้ดำรงอยู่เพียงเพื่อผลประโยชน์เท่านั้น แต่ยังมีอิทธิพลในแง่บวกต่อสังคมได้อีกด้วย โครงการนวัตกรรมด้านมนุษยธรรมเป็นหนทางที่ดีลอยท์จะส่งมอบอิทธิพลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดให้กับภาคธุรกิจด้านมนุษยธรรม โดยไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญกับวิกฤตใดวิกฤตหนึ่ง หรือการบริจาคเงินเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาทักษะ และความรู้ของประชาชน และเครือข่ายสมาชิกของดีลอยท์ด้วย โครงการดังกล่าวจะรวบรวมบรรดาผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆที่มีความสำคัญ การส่งเสริมความร่วมมือในการสร้างวิธีการใหม่ๆเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตด้านมนุษยธรรม และหาแนวทางที่มีศักยภาพมากที่สุดเพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในระยะยาว"
โครงการนวัตกรรมด้านมนุษยธรรมได้รับการพัฒนาขึ้น ภายหลังการประชุมใหญ่ร่วมกับองค์กรด้านมนุษยธรรมชั้นนำ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นของนวัตกรรมใหม่ๆ และความร่วมมือกับภาคเอกชน
เดวิด เพียร์สัน (David Pearson) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ DTTL กล่าวว่า "เนื่องจากภัยพิบัติมีความรุนแรง และความถี่มากยิ่งขึ้น องค์กรด้านมนุษยธรรมจึงเตรียมความพร้อมเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เพียงน้อยนิดให้คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาวิธีร่วมมือกับหลายภาคส่วนเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โครงการดังกล่าวเป็นมากกว่าภารกิจด้านสาธารณะประโยชน์ แต่ยังจะช่วยก่อให้เกิดแนวความคิดใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพพอที่จะเปลี่ยนแปลงภาคกิจการด้านมนุษยธรรม โดยโครงการแต่ละโครงการจะช่วยจัดการปัญหาที่องค์กรด้านมนุษยธรรมจำนวนมากเผชิญอยู่ได้ วิธีการแก้ปัญหาที่ดีลอยท์เป็นผู้ร่วมคิดค้นจะสามารถปรับใช้งานได้จากองค์กรหนึ่งไปสู่องค์กรต่างๆ ซึ่งจะช่วยขยายรายละเอียดผลกระทบของแต่ละโครงการ"
จากข้อมูลของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) สำนักงานประมาณการณ์ว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติสร้างความเสียหายทั่วโลกเป็นมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่ปี 2543 [2] ไม่รวมถึงการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่กำลังเกิดขึ้นเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบของพลเรือน หรือเหตุการณ์ความขัดแย้งที่ปะทุขึ้น ในปี 2554 มีกรณีความขัดแย้งรุนแรงเกิดขึ้นถึง 200 แห่งทั่วโลก [3] ซึ่งไม่เพียงก่อให้เกิดความเสียหายทางทรัพย์สินเท่านั้น แต่ยังมีผู้เสียชีวิต 1.2 ล้านราย และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ [4] อีก 2.9 ล้านคนในช่วงระหว่างปี 2543 – 2555
หลายปีที่ผ่านมา บริษัทที่เป็นสมาชิก DTTL หลายแห่งได้ทดลองใช้วิธีตามแนวทางความร่วมมือโดยการจัดทำโครงการสาธารณะประโยชน์สำหรับหน่วยงาน UN OCHA และบริษัท เมอร์ซี่ คอร์ปส์ (Mercy Corps) โครงการแรกเป็นโครงการพัฒนาความเป็นผู้นำสำหรับผู้ประสานงานด้านมนุษยธรรมของหน่วยงาน UN OCHA ซึ่งผู้นำระดับอาวุโสส่วนใหญ่ในองค์การสหประชาชาติมีหน้าที่รับผิดชอบด้านความร่วมมือเพื่อช่วยชีวิตประชาชนพร้อมกับการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่จัดขึ้นโดยดีลอยท์ สหรัฐอเมริกา ณ มหาวิทยาลัยดีลอยท์ในเมืองเวสต์เลค รัฐเท็กซัส
นอกจากนี้ ดีลอยท์ สหรัฐอเมริกากำลังประสานงานกับบริษัท เมอร์ซี่ คอร์ปส์ เพื่อสร้างกรอบการทำงานที่นำเอาความเสี่ยง และความยืดหยุ่นในองค์กรเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจในเชิงปฏิบัติ และเชิงกลยุทธ์ ในขณะเดียวกันก็ช่วยรักษาความคล่องตัวขององค์กร และวัฒนธรรมภายในองค์กรด้วย
นีล เคนี่-กายเออร์ (Neal Keny-Guyer) ซีอีโอบริษัท เมอร์ซี่ คอร์ปส์ กล่าวว่า "ภาวะแวดล้อมด้านมนุษยธรรมถือเป็นสภาวะที่มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก และความยืดหยุ่นก็เป็นความท้าทายอันยากลำบากที่องค์กรด้านมนุษยธรรมต้องเผชิญ วิธีการแก้ปัญหาผ่านทางการร่วมมือกับดีลอยท์จะถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก โดยมีแผนการทำงานที่ไม่เพียงช่วยเหลือองค์กรของเราเท่านั้น แต่ยังช่วยให้หน่วยงานอื่นๆมีความพร้อมรับมือกับวิกฤตต่างๆด้วยวิธีการที่สามารถสร้างความยืดหยุ่นในสังคมระดับชุมชน"
โครงการนวัตกรรมด้านมนุษยธรรมจะเปิดรับองค์กรด้านมนุษยธรรมทั่วโลก และ DTTL จะเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการไปจนถึงเดือนกรกฎาคม 2556 คณะกรรมการจะตรวจดูการสมัคร และคัดเลือกโครงการสาธารณะประโยชน์ 2 โครงการ ซึ่งบริษัทสมาชิกของดีลอยท์จะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงปลายปี 2556 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการ กรุณาติดต่อ: www.deloitte.com/humanitarian
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อดีจากเครือข่ายดีลอยท์ และรับชมวีดีโอโครงการพัฒนาความเป็นผู้นำของหน่วยงาน UN OCHA ได้ที่: