หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: เมื่อเกิดภัยธรรมชาติ จะป้องกันอย่างไร ? ให้สัตว์น้ำปลอดภัย  (อ่าน 6 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 11 เม.ย. 23, 14:40 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 
ภัยจากธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ไม่มีเกษตรกรท่านไหน ต้องการประสบพบเจอ และเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ฝนแล้ง อุทกภัยต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตแก่เกษตรกรทุกพื้นที่ ทางลูกประมงไทยจึงขอนำเสนอแนวทางการป้องกัน & การเตรียมตัว เพื่อลดความเสียหายจากการประสบ ภาวะฝนแล้ง ภาวะฝนต้นฤดู และ ภาวะอุทกภัย

แนวทางการป้องกัน " ภาวะฝนแล้ง "
- ควบคุมการใช้น้ำ และรักษาปริมาณน้ำในที่เลี้ยงสัตว์น้ำให้มีการสูญเสียน้อยที่สุด
เช่น การรั่วซึมของบ่อเก็บน้ำ บ่อดิน บ่อปูน หรือบ่อผ้าใบ , การกำจัดวัชพืชต่างๆ 

- ทำร่มเงาให้สัตว์น้ำเข้าพัก และ ป้องกันการระเหยของน้ำบางส่วน
เช่น ใช้สแลนขึงเพื่อบังแดด , ปลูกต้นไม้ใหญ่ต่างๆ

- ลดปริมาณการให้อาหารสัตว์ ให้อยู่ในปริมาณที่พอดีกับสัตว์กินหมด เพื่อลดปัญหาน้ำเน่าเสีย

- เพิ่มปริมาณออกซิเจนภายในบ่อดิน โดยใช้เครื่องสูบน้ำจากก้นบ่อ พ่นให้สัมผัสอากาศแล้วไหลคืนสู่บ่อ

- ปรับคุณภาพน้ำ และปรับสภาพดิน โดยใช้ปูนขาว และ ถ้าหากบ่อมีตะไคร่หรือแก็สมากเกินไป ให้ใส่เกลือช่วยได้เพื่อปรับสภาพดินให้ดีขึ้น

- จับสัตว์น้ำที่เลี้ยงไว้ในบ่อเลี้ยงปลาที่ได้ขนาดแล้ว จำหน่ายส่งขาย หรือ บริโภคภายในครัวเรือน
เพื่อลดจำนวนปลาในบ่อ

- หากพบว่าสภาพน้ำภายนอก มีตะกอน หรือ แร่ธาตุต่างๆเข้มข้น ควรงดการสูบน้ำเข้าบ่อเลี้ยงปลา

- หลีกเลี่ยงการทำให้สัตว์น้ำตกใจ เพราะจะทำให้สัตว์น้ำใช้พลังงานเยอะ อาจส่งผลให้สัตว์น้ำตายได้

- หลีกเลี่ยงการขนย้ายสัตว์น้ำในช่วงนี้ หากจำเป็นต้องขนย้ายอย่างระมัดระวัง

- แจ้งความเสียหายกับทางกรมประมง เพื่อขอรับการช่วยเหลืออย่างถูกต้อง และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

 แนวทางการป้องกัน " ภาวะฝนต้นฤดู "
- หลีกเลี่ยงการสูบน้ำฝนแรกเข้าบ่อเลี้ยงปลา ควรปล่อยให้น้ำมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น
เพื่อลดสิ่งสกปรก และสารเคมีต่างๆ หลังจากนั้นจึงนำน้ำไปใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่อไป

- แนะนำให้สูบน้ำในบ่อให้สัมผัสกับอากาศ เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจน และป้องกันการแบ่งชั้นของน้ำ

- ควรหาวิธีป้องกันการไหลของน้ำฝน ที่จะชะล้างแร่ธาตุ และสารเคมีต่างๆที่มีความเข้มข้นจากผิวดินลงสู่บ่อเลี้ยงปลา
เพื่อป้องกันอันตรายจากสารเคมีต่างๆต่อสัตว์เลี้ยงในบ่อดิน

- งดการรบกวนสัตว์น้ำในช่วงนี้ เช่น การจับจำหน่าย หรือ การขนย้ายสัตว์
ควรรอจนกว่าสภาพน้ำเป็นปกติ จึงค่อยคำเนินการ

- งดการจับสัตว์น้ำเพื่ออนุรักษ์ เนื่องจากเป็นช่วงที่สัตว์น้ำจะผสมพันธุ์ หลังจากฝนตกใหม่ๆ

 แนวทางการป้องกัน " ภาวะอุทกภัย"
- หมั่นตรวจเชค สภาวะการณ์ต่างๆก่อนเกิดอุทกภัย เพื่อเตรียมตัวรับมือ

- จับสัตว์น้ำต่างๆที่เลี้ยงไว้ ออกจำหน่ายสู่ท้องตลาด ก่อนช่วงมรสุมในฤดูฝน

- สร้างกระชังเลี้ยงปลา อาจจะเป็น มุ้งไนล่อน 16 ตา / มุ้งถัก 4 ตา หรือ กระชังอวนโปลี ต่างๆ
เพื่อกักขังสัตว์น้ำไว้ให้เป็นที่ และง่ายต่อการจัดการปัญหาต่างๆ

เรียบเรียงโดย : www.lukpramongthai.com
อ้างอิงข้อมูลจาก : https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20200415152840_1_file.pdf


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:  กระชังบก  กระชังเลี้ยงปลา   บ่อผ้าใบ  เลี้ยงปลา 

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม