เมื่อเข้าถึงวัยที่เป็นผู้สูงอายุก็จะเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก บางคนอาจมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกเรื้อรังมานาน เช่น กระดูกพรุน กระดูกแตก หรือกระดูกหัก และเมื่อแก่ตัวไปก็มีผลทำให้อาการอาจจะแย่ลงกว่าเดิม ซึ่งปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เหล่านี้มักจะพบได้บ่อยในผู้สูงวัย โดยอาจมีสาเหตุด้วยกันหลายประการ ทั้งการได้รับปริมาณ แคลเซียม ไม่เพียงพอ การไม่ออกกำลังกาย ไปจนถึงการประสบอุบัติเหตุ ซึ่งเมื่อมีอายุมากขึ้น การฟื้นฟูกระดูกให้เหมือนกับตอนยังเป็นหนุ่มสาวนั้นก็จะไม่สามารถทำได้อย่างเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรับประทาน
แคลเซียมบํารุงกระดูก ผู้สูงอายุ ที่รับประทานแคลเซียมอย่างเพียงพอจะช่วยให้ป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ รวมถึงช่วยให้ทั้งกล้ามเนื้อ กระดูกและฟันมีความแข็งแรงขึ้นด้วย โดยปริมาณแคลเซียมที่แต่ละช่วงวัยควรได้รับมีดังนี้
•ผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 50 ปี ไปจนถึงอายุ 50 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1000 มิลลิกรัมต่อวัน
•ผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป ควรได้รับ แคลเซียม 1200 มิลลิกรัมต่อวัน
•ผู้ชายที่อายุต่ำกว่า 70 ปี ไปจนถึงอายุ 70 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1000 มิลลิกรัมต่อวัน
•ผู้ชายอายุมากกว่า 70 ปี ขึ้นไป ควรได้รับแคลเซียม 1200 มิลลิกรัมต่อวัน
ทั้งนี้ควรรับประทาน
แคลเซียมบํารุงกระดูก ผู้สูงอายุ ควรทานพร้อมมื้ออาหารเย็น เพราะช่วงเวลากลางคืนเป็นช่วงที่แคลเซียมไหลออกจากกระดูกมากที่สุด ปริมาณแคลเซียมที่สูงขึ้นจะป้องกันการไหลออกจากกระดูก ป้องกันไม่ให้กระดูกบางได้ ในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกแนะนำเพิ่มเติมว่า หากไม่ได้รับแคลเซียมถึง 1000 หรือ 1200 มิลิกรัมต่อวัน แต่ได้รับแคลเซียมเพียง 500-700 มิลลิกรัมต่อวัน ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อร่างกายแล้ว สิ่งสำคัญคือ ต้องให้ร่างกายได้รับ แคลเซียม ในทุก ๆ วัน และหมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ เท่านี้ผู้สูงอายุรวมถึงทุกเพศและทุกวัย ก็จะมีกระดูกที่แข็งแรงได้แล้วค่ะ