หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ปไทย-สวิส ลงนามความร่วมมือ คู่แรกของโลกแลกตามข้อตกลง Paris Agreement  (อ่าน 47 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 4 ก.ค. 22, 16:42 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

q*062q*062q*062q*062
“ไทย-สวิส ลงนามความร่วมมือ คู่แรกของโลกแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตและเงินทุน เพื่อต่อสู้ภาวะโลกร้อน ตามข้อตกลง Paris Agreement”
เมื่อวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2565 เวลา 13.30 น. (ตามเวลาสมาพันธรัฐสวิส) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) ร่วมลงนามในข้อตกลงการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิส (Implementing Agreement to the Paris Agreement between the Kingdom of Thailand and the Swiss Confederation) กับ นางซีมอเน็ตตา ซอมมารูกา (Ms. Simonetta Sommaruga) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม คมนาคม พลังงานและสารสนเทศ สมาพันธรัฐสวิส โดยมี นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) นายจิตติพัฒน์ ทองประเสริฐ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเบิร์น สมาพันธรัฐสวิส นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เข้าร่วม ณ กรุงเบิร์น สมาพันธรัฐสวิส นับเป็นการลงนามข้อตกลงถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตร่วมกันเป็นคู่แรกของโลก
ข้อตกลงดังกล่าว เป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศไทยกับสมาพันธรัฐสวิสดำเนินความร่วมมือภายใต้ความตกลงปารีส ข้อ 6.2 เพื่อจัดทำกรอบความร่วมมือโดยสมัครใจสำหรับการถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศ โดยสมาพันธรัฐสวิสจะสนับสนุนการดำเนินโครงการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดและยานยนต์ไฟฟ้า หรือ อีบัส ในกรุงเทพมหานคร เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emissions) ภายในปี ค.ศ. 2065 ที่ประเทศไทยประกาศไว้ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 หรือ COP26
โดยความร่วมมือนี้ นับเป็นส่วนเพิ่มเติมนอกเหนือจากมาตรการตามเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด หรือ NDC (Nationally Determined Contribution) ของประเทศไทย ซึ่งการดำเนินงานภายใต้ข้อตกลงฯ จะช่วยให้ประเทศไทยเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานจากโครงการฯ เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้รับมาต่อยอดและขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมาย NDC ของไทย อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในประเทศเกิดความตื่นตัว และให้ความสนใจในการดำเนินกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศ และสามารถเข้าถึงเงินทุนระหว่างประเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้
ในโอกาสนี้ นายวราวุธ ได้กล่าวถ้อยแถลงแสดงความมุ่งมั่นและความยินดีที่ทั้งสองประเทศพัฒนาความร่วมมือและความพยายาม นับแต่การลงนามในแถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) ร่วมกันในความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในวาระครบรอบ 90 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิส เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 ที่แสดงออกถึงความตั้งใจอย่างจริงจังในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก อีกทั้งคาดว่าประเทศไทยจะสามารถถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตจากโครงการดังกล่าวเป็นประเทศแรกของโลก ซึ่งข้อตกลงฯ ในวันนี้ เป็นการขยายความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของทั้งสองประเทศ ไปสู่การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและภาคส่วนอื่น เพื่อร่วมขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป หลังจากนั้น นายวราวุธ ศิปลอาชา ได้โพสข้อความผ่าน TOP Varawut - ท็อป วราวุธ ศิลปอาชา “ใจความว่า ตนเองและผู้บริหารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เข้าพบ คุณ Simonetta Sommaruga รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม คมนาคม พลังงาน และการสื่อสาร ของสมาพันธรัฐสวิส เพื่อลงนามในข้อตกลง Implementing Agreement On Climate Protection ภายใต้ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ข้อที่ 6.2 ซึ่งถือเป็น 2 ประเทศแรกของโลก ที่มีการยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม โดยสาระสำคัญในวันนี้ คือข้อตกลงการซื้อขายแลกเปลี่ยน คาร์บอนเครดิตของประเทศไทยให้แก่สมาพันธรัฐสวิส เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินลงทุน การสนับสนุนด้านองค์ความรู้ และเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม จากสมาพันธรัฐสวิส เพื่อนำมาใช้ขับเคลื่อน ลงทุน และพัฒนาประเทศไทย ให้เปลี่ยนผ่านโครงสร้างไปสู่ความเป็น #เศรษฐกิจสีเขียว เพื่อบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน
สำหรับไทยและสมาพันธรัฐสวิส ได้เริ่มพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมภายในประเทศ รวมถึงได้เจรจาเรื่องข้อตกลง การดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิส เพื่อช่วยเหลือกันในการแก้ไขปัญหาเรื่อง Climate Change หรือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่านระบบ Video Conference มาตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งนำมาสู่การยกระดับความร่วมมือในวันนี้
#TopVarawut #ParisAgreement #พรรคชาติไทยพัฒนา



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม